1.จากรูปแบบสถาปัตยกรรมเชิงบริการ ( SOA )
- ถ้าภายในระบบ มีข้อกำหนดความต้องการเป็นจำนวนมาก ซึ่งข้อกำหนดเหล่านี้อาจเขียนต่างกัน แต่ให้ผลเหมือนกัน ทำอย่างไรจะลดความซ้ำซ้อนของข้อกำหนดที่ให้ผลเหมือนกันเหล่านี้ได้
- กรณีการให้บริการข้อกำหนดความต้องการที่ผู้ใช้ร้องขออาจพบปัญหาไม่สามารถตอบสนองการร้องขอได้ จำเป็นต้องค้นหาข้อกำหนดอันอื่นที่มีอยู่และให้ผลเหมือนกันหรือแทนที่ข้อกำหนดเดิมที่มีปัญหา ได้โดยตอยสนองความต้องการของผู้ใช้โดยไม่ต้องเปลี่ยนคำร้องขอ
2. รูปแบบการจับคู่ที่มีอยู่
- การจับคู่แบบเดิมนั้น จะทำการจับคู่โดยพิจารณาจาก
- ซึ่งรูปแบบข้อกำหนดความต้องการที่ร้องขอไป อาจจะเขียนไม่เหมือนกันทั้งที่มีความหมายในการตอบสนองความต้องการเหมือนกันก็ได้
- กรณีที่เขียนเหมือนกัน แต่ ความหมายต่างกันทำให้การจับคู่นั้นได้ข้อกำหนดที่ไม่เป็นไปตามความต้องการ ไม่มีความถูกต้อง
ซึ่งจากปัญหาเหล่านี้ ข้าพเจ้าจึงได้นำหลักการ ontology หรือคำเชิงความหมาย มาพิจารณาร่วมในการเข้าคู่ข้อกำหนดความต้องการเพื่อแยกวิเคราะห์ส่วน name datatype ทั้งส่วนที่เขียนเหมือนกันให้ผลต่างกัน หรือ เขียนต่างกันให้ผลเหมือนกัน แล้วนำมาวิเคราะห์จับคู่ในส่วน Signature Matching และ Specification Matching
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น